ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า หรือต้นทุนที่เกิดจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังหรือสินค้าในสต๊อกนั้นจริงๆ แล้วก็คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการบริหารจัดการคลังสินค้านั่นเอง ซึ่งต้นทุนเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องมอนิเตอร์และติดตามดูอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเอาค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการคลังสินค้ามาวิเคราะห์จะทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานและยังเป็นตัวชี้วัด ตัวช่วยในการตัดสินใจเลือก Outsource เช่น หากพบว่า Outsource มีการบริหารคลังสินค้าที่เชี่ยวชาญมากกว่าควรให้เป็นผู้ช่วยดูแลในการบริหารจัดการคลังสินค้าแทนเพราะช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้มากกว่านั่นเอง
สนใจ WMS12 ต้นทุนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า มีอะไรบ้าง
1.ต้นทุนค่าเสื่อมราคาของคลังสินค้าหรือโกดัง
ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาของคลังสินค้า ไม่ต่างไปจากร่างกายของคนเราที่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมสภาพลงไปตามกาลเวลา วัสดุก่อสร้างก็เช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วค่าเสื่อมราคาตามหลักบัญชีจะคิดตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เช่น การก่อสร้างคลังสินค้ามีมูลค่า 20 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ 20 ปีเท่ากับปีละ 1 ล้านบาท ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอยู่ที่ปีละ 1 ล้านบาท เป็นต้น
2.ค่าเช่าคลังสินค้า หรือโกดังเก็บสินค้า
การจัดการต้นทุนคลังสินค้าสำคัญมาก ต้องรู้ก่อนว่ามีต้นทุนอะไรบ้าง ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่มีโกดังสินค้าเป็นของตนเองเลือกที่จะเช่าคลังสินค้าแทน แน่นอนว่าไม่มีต้นทุนเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาแต่จะเป็นต้นทุนค่าเช่าคลังสินค้าหรือโกดังแทน ปกติแล้วจะมีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
3.ค่าเสื่อมของพาเลทและ Rack
ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ได้แก่ค่าเสื่อมของพาเลทและ Rack เป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ต้องนำมาคิดคำนวณโดยปกติแล้ว Rack จะคิดอยู่ประมาณ 5 ปี ส่วนพาเลทนั้นมีค่าเสื่อมซึ่งขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานโดยทั่วไปคือ 3 ปี
4.ค่าเสื่อมของอุปกรณ์สำนักงาน
ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ได้แก่ อุปกรณ์สำนักงาน เช่น ปริ้นเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น อุปกรณ์ที่ไว้ใช้ในหน่วยงานคลังสินค้าโดยทั่วไปแล้วมีค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ 3-5 ปี ต้องนำมารวมกับการคำนวณต้นทุนของโกดังหรือคลังสินค้าด้วย
5.ค่าเสื่อมราคาหรือค่าเช่าอุปกรณ์คนถ่าย
ค่าเสื่อมของอุปกรณ์สำนักงานมีอะไรบ้าง เช่น รถโฟล์คลิฟท์ พาวเวอร์พาเลท ลิฟท์ทัค ฯลฯ โดยปกติในทางบัญชีมีค่าเสื่อมราคาคือ 5 ปี ดังนั้นให้นำราคาที่ซื้อมาหารด้วยจำนวน 5 ปีจะทำให้ทราบค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์เหล่านั้นต่อปี
6.ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตและน้ำมัน
ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตและน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักหรือต้นทุนการบริหารคลังสินค้า บางสินค้าอาจมีระบบห้องเย็นซึ่งต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงจะทำให้มีต้นทุนค่าไฟที่สูงตามไปด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาคำนวณโดยการรวมเอาค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตและน้ำมัน คิดคำนวณเป็นต้นทุนคลังสินค้าแบบรายปี
7.ค่าซ่อมบำรุงโกดังหรือคลังสินค้า
คลังสินค้าหรือโกดังนั้นจำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงและรักษาอย่างสม่ำเสมอ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือค่าซ่อมบำรุงจะต้องนำมารวมเป็นรายปี เพื่อคำนวณหาต้นทุนการบริหารคลังสินค้า มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุตัวอาคารและคุณภาพในการก่อสร้างด้วยเป็นสิ่งสำคัญ
8.ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ได้แก่ ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นภาษีที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2563 อัตราภาษี 2 ปีแรกคือปี 2563 และ 2564 จะเก็บภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ไม่ใช่การประกอบเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้งาน ในด้านของพาณิชยกรรม เช่น อาคาร สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า แน่นอนว่าโกดังหรือคลังสินค้าก็เป็นหนึ่งในนั้น
9.ค่าจ้างพนักงานหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวกับคนงาน
ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า หนึ่งในนั้นคือค่าจ้างพนักงานที่เกี่ยวข้องในแผนกคลังสินค้าตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ไปจนถึงผู้จัดการ โดยนำทุกตำแหน่งมาคำนวณว่ามีค่าใช้จ่ายต่อปีเท่าไหร่จะได้เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเงินเดือนต่อปี นอกจากนั้นยังรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนงานไม่ว่าจะเป็นค่าประกันสังคม โบนัส ค่าทำงานล่วงเวลาหรือสวัสดิการต่างๆ
10.ค่าจ้างแรงงานเพียงชั่วคราว
ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ค่าใช้จ่ายที่หลายคนลืมนำมาคำนวณคือค่าจ้างแรงงานชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน outsource ที่จ้างมาในกรณีพิเศษหรือมีการจัดการสินค้าจำนวนมาก รวมไปถึงรายงานชั่วคราวที่จ้างมาทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น การแพ็คสินค้าหรือ repack สินค้าเป็นต้นควรนำเอาค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาคำนวณด้วย
11.ค่าประกันภัยโกดังเก็บสินค้า
บริษัทส่วนใหญ่จะทำประกันภัยคลังสินค้าหรือโกดังเก็บสินค้า ค่าเบี้ยประกันจะต้องนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยเช่นเดียวกัน ปกติแล้วเบี้ยประกันอาคารหรือโกดังสินค้าจะมีการชำระเป็นรายปี ค่าเบี้ยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและความคุ้มครอง
12.ค่าเช่าลิขสิทธิ์โปรแกรมจัดการคลังสินค้า
การบริหารจัดการคลังสินค้าจำเป็นต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ทันสมัยเข้ามาช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็วและลดข้อผิดพลาด ซึ่งการใช้งานโปรแกรมเหล่านั้นมีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี ตามเงื่อนไขเช่นโปรแกรม WMS (Warehouse Management System) ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายแต่ถือเป็นส่วนสำคัญในการลดต้นทุนในการบริหารคลังสินค้า
ระบบ WMS ของ Oasys ดีอย่างไร ทำไมถึงต้องใช้
ระบบ WMS ช่วยบริหารจัดการคลังสินค้าตั้งแต่การรับเข้า การจัดเก็บและการส่งออก แม้จะมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเป็นรายเดือนหรือรายปีแต่โปรแกรมนี้ก็เข้ามาช่วยประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการคลังสินค้าได้เป็นอย่างมาก ลดต้นทุนการจ้างงานเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าลดข้อผิดพลาดที่เกิดจาก Human Error
สรุป
การบริหารจัดการคลังสินค้า มีต้นทุนการบริหารคลังสินค้าหรือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคลังสินค้าหลักๆ แล้วมีอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้คือคำตอบและหากสนใจใช้ ระบบ WMS คือ ระบบจัดการคลังสินค้าออนไลน์ แนะนำ Oasys ของเรายินดีให้บริการ นำเสนอระบบที่จะช่วยประหยัดต้นทุนในการจัดการคลังสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคลังสินค้าของคุณได้แน่นอน