สำหรับการทำธุรกิจแล้ว การบริหารจัดการระบบคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก หากสินค้าคงเหลือหรือสินค้าคงคลังมีปริมาณมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ วันนี้เราจะพูดถึงความสำคัญของ Inventory Management แต่ก่อนเราจะไปรู้ว่าวิธีการจัดการสินค้าคงคลัง มีความสำคัญอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรและจัดการอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพนั้น เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ความหมายที่แท้จริงคืออะไร
สนใจ WMSInventory Management คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
Inventory Management คือ การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ที่ครอบคลุมถึงการดูแล การวางแผนและการจัดการทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ถูกจำหน่ายขายออกไปหรือสินค้าคงคลัง อาจเป็นวัตถุดิบเป็นการสต๊อกสินค้า วิธีการจัดการสินค้าคงคลังเป้าหมายของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังนั้นทำให้เกิดการไหลเวียนสินค้าจากการผลิตไปสู่การจัดเก็บและกระบวนการขายที่ราบรื่น ช่วยลดภาระในการจัดเก็บสินค้าในสต๊อกที่มีมากเกินความจำเป็นหรือมีน้อยเกินไป จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ Inventory Management สินค้าคงคลังที่ต้องจัดประเภทแบ่งออกเป็น 4 รายการได้แก่
- วัตถุดิบ สิ่งที่ถูกใช้ในกระบวนการประกอบหรือแปรรูปสินค้า อาจรวมถึงสิ่งของที่บริษัทซื้อจาก supplier เจ้าอื่น จัดหามาด้วยตนเองหรือประกอบมาจากวัตถุดิบอื่นอีกที
- สินค้ารอแปรรูป สินค้าที่รอเข้าสู่กระบวนการผลิตในลำดับถัดไป อาจเป็นสินค้าที่ยังไม่สมบูรณ์แบบต้องเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือแปรรูป
- สินค้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าที่พร้อมสำหรับการจำหน่ายแล้วหรือผลิตมาสมบูรณ์แบบเรียบร้อย อาจผลิตตามออเดอร์หรือมีการสต๊อกสินค้าไว้ล่วงหน้าให้เพียงพอสำหรับการขาย
- อะไหล่ หรือ วัสดุสำหรับการซ่อมบำรุงถูกจัดเก็บในคลังสินค้าแต่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการจำหน่ายโดยตรงเป็นการสนับสนุนกระบวนการผลิตอีกที เช่น น้ำมันหล่อลื่นใช้กับเครื่องจักรของโรงงานอุตสาหกรรม
วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง ให้มีประสิทธิภาพ
วิธีการควบคุมสินค้าคงคลัง inventory management ให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องจัดหมวดหมู่ของสินค้าคงคลังให้ไหลเป็นระบบ โดยแยกประเภทของสินค้าคงคลังต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
1.Cycle Stock
วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง Cycle Stock หมายถึง การจัดการสินค้าคงคลังที่ถูกจัดเก็บตามรอบหรือสินค้าคงคลังที่มีไว้เติมเต็มสินค้าที่ถูกจำหน่ายขายออกไป อาจเป็นวัตถุดิบที่ถูกใช้ในกระบวนการผลิตไปแล้ว ซึ่งสินค้าในประเภทนี้จะถูกจัดไว้ในสต๊อกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่ทราบแน่ชัดรวมถึงทำให้กระบวนการราบรื่นไม่ติดขัด สินค้าคงคลังในแต่ละรอบที่มาถึงมีจำนวนตรงกับสินค้าหรือวัตถุดิบชิ้นสุดท้ายที่หมดลงอย่างพอดี
2.In-Transit Inventories
วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง In-Transit Inventories หมายถึง การจัดการสินค้าคงคลังระหว่างทางเป็นสินค้าหรือวัตถุดิบที่อยู่ในระหว่างการขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง สินค้าหรือวัตถุดิบเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ตามรอบเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการขนส่งก็ตาม โดยจะรอจนกว่าจะส่งไปถึงผู้สั่งสินค้าหรือวัตถุดิบนั้น
3.Safety Stock or Buffer Stock
วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง Safety Stock or Buffer Stock หมายถึง การจัดการสินค้าคงคลังสำรองเป็นสินค้าจำนวนหนึ่งที่เก็บไว้ในปริมาณที่มากกว่าการเก็บในรอบปกติ มาจากความต้องการสินค้าของลูกค้าหรือการสำรองไว้ในกรณีที่เกิดความไม่แน่นอน
4.Speculative Stock
วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง Speculative Stock หมายถึง การจัดการสินค้าคงคลังที่เก็บไว้เพื่อบริหารความเสี่ยงเป็นสินค้าคงคลังที่ถูกจัดเก็บเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ารวมถึงเผื่อความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การคาดการณ์ว่าสินค้าจะมีราคาเพิ่มขึ้น หรือมีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาดสูง
5.Seasonal Stock
วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง Seasonal Stock หมายถึง การจัดการสินค้าคงคลังที่จัดเก็บตามฤดูกาลเป็นการสะสมสินค้าคงคลังไว้ในจำนวนหนึ่งก่อนที่ฤดูกาลขายนั้นจะมาถึงส่วนมากเป็นผลผลิตทางการเกษตรซึ่งได้ตามฤดูกาล รวมไปถึงอุตสาหกรรมจำพวกอุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้าผู้ผลิตจะสต๊อกสินค้ารุ่นใหม่ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในฤดูกาลต่างๆ
6.Dead Stock
วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง Dead Stock หมายถึง การจัดการสินค้าคงคลังที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานสินค้าที่ถูกจัดเก็บอาจไม่เป็นที่ต้องการของตลาดล้าสมัยหรือเสื่อมสภาพเป็นสินค้าที่ค้างสต๊อกอยู่ในระบบคลังสินค้าเป็นระยะเวลานานๆ
แนวทางการบริหารสินค้าคงคลัง ทำอย่างไรให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
- วิธีการจัดการสินค้าคงคลัง กำหนดสินค้าคงคลังในปริมาณที่เหมาะสมกับกิจการของตนเองสามารถทำได้ด้วยการจดบันทึกสินค้าเข้าออกรวบรวมการเบิกจ่ายในอดีตควบคู่กับการดูยอดขาย ณ ปัจจุบัน เพื่อบริหารจัดการสต๊อกให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค
- วิธีการจัดการของคงคลัง ควรมีการวางแผนสั่งซื้อวัตถุดิบที่ดี หาค่าปริมาณการสั่งซื้อที่มีต้นทุนต่ำที่สุดโดยสามารถหาได้จากค่า EOQ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเป็นการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดต้นทุน ในการสั่งซื้อรวมถึงต้นทุนการเก็บรักษาทำให้ทราบปริมาณที่ควรสั่งซื้อว่าต้องสั่งซื้อเท่าไรประหยัดต้นทุนมากที่สุด
- หาจุดหรือวงรอบเวลาที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าใหม่ จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นจุดที่ใช้เตือนสำหรับการสั่งซื้อในรอบถัดไปไม่ให้เกิดการค้างสต๊อกของสินค้าคงคลังนาน โดยเฉพาะสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว
- เจรจาต่อรองขอส่วนลดในกรณีที่สั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าจำนวนมากจากโรงงานผลิตหรือ supplier
- จัดการไม่ให้มีสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว หาวิธีการระบายสินค้าหรือจำหน่ายออกด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งรวมถึงประเมินความเป็นไปได้ในการสต๊อกเพื่อไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมสภาพล้าสมัย
- ตรวจนับสต๊อกสินค้าอย่างสนม่ำเสมอเพื่อให้ทราบจำนวนสินค้าคงคลังที่แน่ชัดหรือควรตรวจนับสต๊อกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- วิธีการจัดการสินค้าคงเหลือ ที่น่าสนใจคือการนำซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้า เช่น ระบบจัดการคลังสินค้า WMS
สรุป
Inventory management การบริหารสินค้าคงคลังเป็นการดูแล วางแผนและบริหารจัดการปริมาณสินค้าคงคลังในสต๊อกให้เกิดประสิทธิภาพ วิธีการบริหารสินค้าคงคลัง หรือวิธีการจัดการสินค้าคงคลัง มีอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้คือแนวทางที่เราเอามาฝาก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของสินค้าที่เป็นไปอย่างราบรื่น หนึ่งในตัวช่วยในการ บริหารจัดการสินค้าคงคลังที่ดีที่สุดคือการนำระบบจัดการคลังสินค้า WMS มาใช้ Oasys ของเรายินดีให้บริการ เพื่อให้คลังสินค้าของคุณมีประสิทธิภาพเพิ่มความสะดวกรวดเร็วและลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้ 100%