การที่คุณจะขายของออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น สิ่งสำคัญต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักช้อปออนไลน์ เพราะมันคือตัวแปรสำคัญที่จะนำพาธุรกิจของคุณให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ถามว่าการทำความเข้าใจในส่วนนี้นั้น สำคัญมากแค่ไหน สำคัญมากๆ เพราะการทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนซื้อของออนไลน์ ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ปรับธุรกิจให้ดึงดูดนักช้อปออนไลน์ได้มากขึ้นนั่นเอง ผลดีที่ตามมายอดขายเพิ่มขึ้น สร้างกำไรได้มากขึ้น ธุรกิจประสบความสำเร็จเติบโตอย่างยั่งยืน
สนใจ WMSพฤติกรรมของนักช้อปออนไลน์ในปัจจุบัน
พฤติกรรมของนักช้อปออนไลน์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร สนค.(สำนักงานนโยบายและยุทธ์ศาสตร์การค้า) ได้เปิดเผยว่า หลังจากมีการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์ ช่วงไตรมาสที่ 4/2566 นั้นพบว่า พฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ทั้งจากความถี่และยอดมูลค่า มีความสัมพันธ์กับช่วงอายุ จากผลสำรวจพบว่ากลุ่มวัยรุ่นมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์บ่อยแต่ไม่แพงมาก นิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางโซเชียล ที่เน้นสร้างความบันเทิงและมอบความสุขให้แก่ตนเอง

ตรงกันข้ามกับกลุ่มผู้สูงอายุที่อาจสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ไม่บ่อยมากแต่เน้นคุณภาพของสินค้า และการบริการที่สามารถจับต้องได้ ตลาดอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee, Lazada ยังคงได้รับความนิยมสูง ในขณะเดียวกัน ทางฝั่งของผู้ขายหรือคนทำธุรกิจออนไลน์ มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด แพลตฟอร์มต่างๆ เร่งพัฒนาเครื่องมือเพื่อมาซพพอร์ตจุดนี้ อำนวยความสะดวกในการขายของออนไลน์มากขึ้น ผลักดันให้ผู้ขายสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ซื้อได้ทุกกลุ่มช่วงวัย
ผลการสำรวจทั้งหมดสรุปได้ว่า
- กลุ่มวัยรุ่นหรือกลุ่มคน Gen Z อายุต่ำกว่า 20 ปี มีแนวโน้มซื้อสินค้าบ่อยแต่ไม่แพงมาก ในไตรมาสที่ 4/2566 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าถึงร้อยละ 32 ซื้อเฉลี่ยต่ำกว่า 1000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58 สำหรับแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม ผู้บริโภคช่วงอายุ ต่ำกว่า 20 และ 20-29 อันดับหนึ่งคือแอพช้อปปิ้ง Shopee รองลงมาคือ TikTok
- กลุ่มคน Gen X ช่วงอายุ 50-59 ปี มีแนวโน้มซื้อสินค้าไม่บ่อยมากแต่มียอดการจ่ายสูงกว่าเน้นสินค้าที่มีคุณภาพ ในไตรมาสที่ 4/2566 มีสัดส่วนลดลงสูงถึงร้อยละ 40 แต่สัดส่วนผู้ที่มียอดซื้อต่อเดือนมากถึง 3,001-5,000 บาท สำหรับแอพช้ปปิ้งที่ได้รับความนิยมคือ Shopee, Lazada, Facebook
- กลุ่มคนสูงอายุหรือ Gen X อายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มความถี่ลดลง ยอดซื้อโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 46 เนื่องจากต้องเผชิญกับความยากในการปรับตัวเข้าหาแพลตฟอร์มซื้อสินค้าออนไลน์

ปรับธุรกิจให้ดึงดูดนักช้อปออนไลน์มากขึ้น
จากข้อมูลในข้างต้นที่เรากล่าวมาจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าของนักช้อปออนไลน์และมูลค่ายอดสั่งซื้อนั้น แตกต่างกันออกไป มีความสัมพันธ์กับช่วงอายุ สรุปสั้นๆ คือ กลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มสั่งซื้อสินค้าบ่อย แต่ไม่แพงมาก อาจเป็นเพราะว่ากำลังซื้อยังมีไม่มากพอ เพราะเป็นกลุ่มเด็กนักเรียนหรือกลุ่มคนที่ยังหารายได้เองไม่ได้ ต่างจากกลุ่มคนโต แม้จะมีความถี่ลดลงแต่กลับซื้อของแพงกว่า เพราะมีกำลังซื้อมากกว่า เน้นไปที่สินค้าดีมีคุณภาพ
สิ่งสำคัญเลยคือผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้เร็วตามเทรนด์การเปลี่ยนแปลง ผ่านกลยุทธ์ต่างๆ ได้แก่ นำเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ติดตามเทรนด์ทำการตลาดใหม่ๆ มีระบบจัดการงานหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพ ประยุกต์ใช้ Generative AI และติดตามกฎหมาย/ระเบียบสำหรับทำการค้าออนไลน์
กรณีศึกษาหรือแนวโน้มที่น่าสนใจ
กรณีศึกษา จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในแต่ละแพลตฟอร์ม มีความนิยมที่แตกต่างกันออกไปตามกลุ่มอายุ ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสม สิ่งแรกที่ต้องทำคือศึกษาแนวโน้ม พฤติกรรมของนักช้อปออนไลน์ และเข้าใจธุรกิจตัวเอง ขายอะไร ควรตั้งราคาเท่าไหร่ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ต้องรู้ด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ช่วงอายุเท่าไหร่ จะเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ได้จากช่องทางไหน ถ้าเป็นกลุ่มวัยรุ่น ช่องทางแนะนำคือ Shopee และ Tiktok เพราะเป็นเพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากๆ สำหรับคนกลุ่มนี้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนโตหรือคนสูงอายุ ช่องทางที่แนะนำในการทำการตลาดออนไลน์คือ Shopee, Lazada, Facebook

สรุป
ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการทำความเข้าใจพฤติกรรมของนักช้อปออนไลน์เป็นเรื่องสำคัญ ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมได้ สร้างโอกาสในการขายทำให้ธุรกิจเติบโต เมื่อธุรกิจเติบโตต้องรับมือกับออเดอร์ที่เพิ่มขึ้น และเข้ามาจากหลายแพลตฟอร์มพร้อมกัน อาจทำให้สับสน จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร เพื่อไม่ให้สับสนแนะนำระบบจัดการออเดอร์ของ Oasys ระบบที่ทันสมัยดูดออเดอร์ได้ทุกแพลตฟอร์ม เช็กสต๊อกง่าย เช็กสถานะของสินค้าได้ทันที ติดตามความเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์ ตัดสต๊อกให้ทันที จัดการออเดอร์ไม่ตกหล่นรวมแชทไว้ที่เดียว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ตลอด 365 วัน คลิกติดต่อเรา ได้ที่นี่