เทคนิคการจัดคลังสินค้า อย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

การจัดคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเพราะสะท้อนให้เห็นความสามารถในการทำงาน ศักยภาพด้านการแข่งขัน วันนี้เรามีกระบวนการจัดการคลังสินค้า พร้อมเทคนิคการจัดการคลังสินค้า ให้มีประสิทธิภาพมาแนะนำ โดยหวังว่าจะเป็นไอเดีย หรือเป็นแนวทางให้ธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการคลังสินค้าของตนเองได้ ก่อนอื่นเลย ต้องมาทำความรู้จักก่อนว่า การจัดการคลังสินค้า คืออะไร

สนใจ WMS

การจัดการคลังสินค้า คืออะไร?

Warehouse Management หรือ การจัดการคลังสินค้า คือ การดำเนินงาน ในกระบวนการต่างๆ การจัดคลังสินค้าครอบคลุมทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการรับเข้า การจัดเก็บ การแพ็คสินค้าไปจนส่งการส่งออก เพื่อจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภค การจัดการคลังสินค้าครอบคลุมในส่วนของการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ในคลังสินค้าด้วย วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการคลังสินค้า มีดังต่อไปนี้

  • ใช้พื้นที่ ที่มีจำกัดภายในคลังหรือโกดังเก็บสินค้า ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • มีการจัดวางสินค้าอย่างเป็นระเบียบ แยกประเภท หรือหมวดหมู่อย่างชัดเจน
  • ลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้า ให้ได้มากที่สุด
  • เพื่อให้การรับเข้าสินค้า การจัดเก็บและการส่งออก รวดเร็ว คล่องตัว
  • บริหารจัดการต้นทุนในการดำเนินงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพื่อความคุ้มค่า
การจัดการคลังสินค้า คืออะไร

กระบวนการการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง

สำหรับกระบวนการในการจัดคลังสินค้าประกอบไปด้วยกิจกรรมหลักๆ ได้แก่ งานรับเข้า ตรวจพิสูจน์ ตรวจแยกประเภท จัดเก็บสินค้า การนับสต็อก การหยิบเลือกสินค้า การจัดส่ง และการจัดทำรายงาน

1.การรับสินค้าเข้า

การจัดคลังสินค้ากระบวนการแรกคือ การรับสินค้าเข้ามาจัดเก็บในคลัง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่มาจากโรงงานผลิต หรือนำเข้ามาจากแหล่งอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สินค้าถูกส่งมาจัดเก็บในโกดังตามคำสั่งซื้อ ทั้งนี้ ปริมาณที่สั่งซื้อมาเก็บในสต๊อก อาจมาจาการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในอนาคต

2.การตรวจพิสูจน์

การบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดี สินค้าที่ถูกรับเข้ามาจัดเก็บก่อนจัดเก็บจะต้องผ่านกระบวนการตรวจพิสูจน์ ยืนยันความถูกต้องมีการเช็คปริมาณของสินค้า คุณภาพของสินค้า สินค้าตรงตามจำนวนคำสั่งซื้อหรือไม่ มีรายการใดชำรุด เสียหายหรือไม่ อย่างไร

3.การตรวจแยกประเภท

การจัดคลังสินค้า มีกระบวนการตรวจแยกประเภท สินค้าถูกนับและติดบาร์โค้ด มีการแบ่งแยกประเภท ชนิดหรือแบ่งตามหมวดหมู่ รวมถึงการแยกรายการสินค้าของใหม่ ของเก่า ของดี ของชำรุด เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ และสะดวกต่อการค้นหา

4.จัดเก็บสินค้า

กระบวนการจัดเก็บสินค้า เช่น จัดเก็บบนชั้นวาง สินค้าเข้าสู่แถว มีการขนย้ายสินค้าไปจัดเก็บตามตำแหน่งต่างๆ อาจมีการนำเครื่องจักร หรือหุ่นยนต์ทันสมัยเข้ามาช่วย เพิ่มความรวดเร็ว ลดแรงงาน ลดอุบัติเหตุ

5.การนับสต็อก

สินค้าที่ถูกจัดเก็บมีการตรวจสอบสต็อกอย่างสม่ำเสมอ เช่น รายสัปดาห์หรือรายเดือน ยอดที่ได้ต้องตรงกับความเป็นจริง การรู้จำนวนสินค้าที่แม่นยำ ทำให้ง่ายต่อการวางแผน การจัดการสินค้าในคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น เพิ่มสต็อกสินค้าหรือลดสต็อกสินค้า

6.การหยิบสินค้า

กระบวนการหยิบสินค้าเกิดขึ้นเมื่อมีคำสั่งซื้อ หรือมีออเดอร์เข้ามา เพียงค้นหาตำแหน่งของสินค้าในระบบ กรอกเงื่อนไขการค้นหา สามารถหยิบสินค้ามาแพ็คได้อย่างรวดเร็ว จัดส่งสินค้าได้ทันเวลา

7.การจัดส่ง

การจัดส่งสินค้า หลังจากแพ็ค ทำเครื่องหมาย ชั่งน้ำหนัก ติดใบปะหน้า สินค้าถูกจัดส่งออกจากคลังไปสู่ลูกค้า โดยที่สามารถติดตามสถานะของสินค้าได้เรียลไทม์

8.การจัดทำรายงาน

การจัดทำรายงาย การประมวลผล หรือสรุปข้อมูลตัวเลข เชิงสถิติและเชิงบรรยาย เพื่อติดตาม ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน นำไปวางแผนปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการจัดคลังสินค้าให้ดียิ่งขึ้น

กระบวนการการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง

เทคนิคการจัดคลังสินค้า ให้มีประสิทธิภาพมีอะไรบ้าง

1.จัดระเบียนพื้นที่ วางแผนผังคลังสินค้า

การจัดคลังสินค้า ก่อนอื่นต้องวางแผนผังคลังสินค้า จัดสรรพื้นที่ในคลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดหาคลังสินค้าขนาดใหญ่เพื่อรองรับการจัดเก็บสินค้าจำนวนมาก แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น พื้นที่รับสินค้าเข้า พื้นที่คัดแยกสินค้า พื้นที่จัดเก็บ พื้นที่สำนักงาน บริเวณแพ็คและจุดส่งสินค้า เป็นต้น

2.ติดป้ายกำกับในคลังสินค้า

การจัดเก็บสินค้า ควรตั้งชื่อตำแหน่งสำหรับสต็อก มีการติดป้ายกำกับอย่างชัดเจน ใช้ตัวอักษรผสมตัวเลข เพื่อให้เข้าใจง่าย เช่น แถว A เชลฟ์ A ตำแหน่งสินค้า 1 = เสื้อยืดคอกลม / สีน้ำเงิน / ไซส์ S, แถว A เชลฟ์ A ตำแหน่งสินค้า 2 = เสื้อยืดคอกลม / สีน้ำเงิน / ไซส์ M เป็นต้น ในขณะที่แถว B ใช้หลักการเดียวกันแต่เป็นเสื้อเชิ้ต

3.การจัดเรียงสินค้าคงคลัง

การจัดคลังสินค้า ต้องมีมีการจัดเรียงสินค้าอย่างเป็นระเบียบ หลักการคือ สินค้าที่ขายดี อยู่ติดกับโซนบรรจุภัณฑ์หรือโซนแพ็คสินค้า เพื่อให้สะดวกต่อการทำงาน ลดเวลาในการเดินของพนักงาน เมื่อต้องหยิบสินค้า มีงานวิจัยว่า สินค้า 20% ของบริษัท มักสร้างกำไรมากที่สุด ดังนั้นต้องหาให้ได้ว่า สินค้า 20% คืออะไร ด้วยการแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ A B C (A : สินค้าสร้างผลกำไรมากที่สุด, B : สินค้าสร้างผลกำไรรองลงมากและ C : สินค้าสร้างผลกำไรน้อยที่สุด)

4.อุปกรณ์ในคลังต้องดีมีคุณภาพ

การบริหารคลังสินค้า อุปกรณ์ในคลังสินค้าต้องดีมีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาสม่ำเสมอ เช่น ชั้นวางพาเลท ชั้นเก็บสินค้า รวมถึงรถโฟล์คลิฟท์ รถขนย้ายเคลื่อนย้ายสินค้าต่างๆ

เทคนิคการจัดคลังสินค้า ให้มีประสิทธิภาพมีอะไรบ้าง

สรุป

เทคนิคการจัดคลังสินค้าเหล่านี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการคลังสินค้าได้ และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับการบริหารคลังสินค้าคือ ระบบจัดการคลังสินค้า WMS ให้บริการโดย Oasys รวมถึงระบบจัดการออเดอร์ OMS ตัวช่วยยกระดับการจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โปรแกรมทันสมัยมาพร้อมฟังก์ชันครบครัน ตอบโจทย์ทุกธุรกิจอย่างแน่นอน

คลิกดูฟีเจอร์เพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานได้ตลอด 365 วัน คลิกติดต่อเรา ได้ที่นี่